Zoetrope
William George ประดิษฐ์เครื่องโซโทรป (Zoetrop)ซึ่งอาศัยหลักการเดียวกับฟีนากิสสโตสโคป (Phenakistoscope)แต่ไม่จำเป็นต้องใช้กระจกเงาในการมองอีกต่อไป (ธรรมปพนลีอำนวยโชค, 2550, 21) สามารถทดลองทำได้โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นทรงกระบอกและเจาะช่องมองไว้ 12 ช่อง จากนั้นวาดรูปต่อเนื่องกัน 12 รูปด้านในให้แตกต่างกันเล็กน้อย จากนั้นดึงรูปและทรงกระบอกนั้นบนไม้หรือวัสดุที่มีปลายแหลมให้อยู่ตรงจุด ศูนย์กลางแล้วหมุนทรงกระบอก เมื่อมองผ่านช่องที่เจาะไว้ก็จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว
ตัวอย่างของโซโทรป (Zoetrope)
ที่มา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
งานที่2
Zoetrope
วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษ 80 ปอนด์ หรือ ต่ำกว่า 80 ปอนด์ก็ได้
2.กระดาษแข็ง
3.ดินสอ
4.ปากกาเมจิสีดำ
5.วงเวียน
6.กาว
7.เทปกาว
8.กรรไกร
9.คัทเตอร์
10.ไม้บรรทัด
11.จุกและไม้เสียบลูกโป่ง
ขั้นตอนการทำ
2.เมื่อได้ขนาดเส้นรอบวงกลมจึงวาด template ตามขนาดที่วัดไว้ โดยกำหนดจำนวนภาพที่เราการคือ 12 เฟรม แบ่งให้เท่าๆกัน และเว้นช่องไฟเพื่อเว้นให้เราสามารถมองเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
3.วาดภาพที่เราจะทำเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยแต่ละเฟรมจะไม่ซ้ำกันมีลักษณะค่อยๆขยับที่ละส่วน
4.ตัดแบบที่่เราวาดไว้มาติดกาวเพื่อที่จะให้มันต่อกัน
5.ระบายสีในภาพให้เรียบร้อย(สามารถทำขั้นตอนที่4ก่อนก็ได้)
6.จากนั้นนำมาติดกับกระดาษแข็งที่เตรียมไว้ แล้วตัดส่วนเกินให้เรียบร้อย(ช่องไฟ)
7.เป็นขั้นตอนในการทำฐานของ Zoetrope นำวงเวียนมากางในรัศมี 3 นิ้ว ครึ่งนึงจากที่กำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางไว้ จากนั้นก็ตัดฐานออก เพื่อความแข็งแรงควรใช้กระดาษที่แข็งที่หนา
8.จากนั้นก็นำแบบและฐานมาติดกันให้เรีบยร้อย
9.เมื่อเสร็จเราก็จะนำจุกไม้ลูกโป่งมาติดกาวแล้วนำไปติดกับส่วนฐานด้านล่างของ Zoetrope เสียบก้านไม้ลูกโป่งให้เรียบร้อย
10.เพื่อความเรียบร้อยนำกระดาษแข็งขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว มาปิดให้ส่วนที่ไม่เรียบร้อยตรงฐานโดยให้เหลื่อมลงมาเล็กน้อยก็เป็นอันเสร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น