วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Thaumatrope

 Thaumatrope 

  Paul Roget ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องมือเชามาโทรป ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1824 ซึ่งให้ความคิดเกี่ยวกับภาพติดตาด้วยการลวงตา (ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล , 2547, 5) ด้วยการนำเอาแผ่นกระดาษแข็งรูปวงกลม 2 แผ่นมาประกบกัน โดยเขียนภาพที่มีลักษณะต่างกันแต่ยังสื่อถึงกันอยู่ เช่น ภาพนกและภาพกรงเปล่าทากาวด้านหลังของภาพทั้งสองแล้วใส่เชือกหรือผูกหนังยางตรงจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสอง กดให้แน่นเป็นแผ่นเดียวกัน จากนั้นใช้นิ้วจับปลายเชือกทั้งสองด้าน แกว่งไปมาแล้วดึงเชือกให้
หย่อนทั้งสองด้าน วงกลมจะหมุนไปและภาพเขียนจะรวมกันเป็นภาพเดียว วิธีนี้ใช้ได้กับแผ่นกระดาษประกบบนไม้เหมือนพัดขนาดเล็ก เมื่อปั่นปลายไม้ให้กระดาษหมุนก็จะเห็นภาพทั้งสองรวมกัน
เป็นภาพเดียวเช่นกัน

ภาพตัวอย่างของเชามาโทรป (Thaumatrope)

 ที่มา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


งานที่ 1 Thaumatrope


วัสดุอุปกรณ์














1.กระดาษ100 ปอนด์
2.กระดาษแข็งหรือฟิวเจอบอร์ด
3.กาว
4.กรรไกร
5.ดินสอ
6.เมจิกสีดำ
7.สี
8.เชือก

ขั้นตอนการทำ
1.นำวงเวียนวงลงกระดาษ 2 วง ตามขนาดที่ต้องการ














2.วาดภาพที่เราคิดไว้ว่าจะให้เคลื่อนไหวอย่างไรทั้งสองด้าน ลงบนภาพวงกลมที่วาดไว้














3.นำเมจิกมาตัดเส้น














4.ลงสีให้สวยงาม














5. นำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่ากับวงกลมที่วาด ตัดวงกลมที่วาดไว้ออกมาทั้งสองวงประกบกระดาษแข็งอย่างละข้าม














6.เจาะรูด้านข้างทั้ง 2 ด้าน นำเชือกมากร้อยและมัดปมตรงปลายเป็นอันเสร็จ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น