วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Flip Book

สมุดพลิกหรือการดีดหน้าหนังสือ (Flip book)
 

   สมุดพลิกหรือการดีดหน้าหนังสือจะลวงตาทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวได้ โดยใช้กระดาษแข็งที่มีความหนาพอสมควรขนาดเท่าๆ กันสัก 24 หรือ 36 ชิ้น เขียนภาพที่ดัดแปลงให้แตกต่างกันเล็กน้อยลงในจุดหรือตำแหน่งเดียวกันในแต่ละหน้า เรียงรวมกันเป็นเล่มโดยด้านซ้ายเย็บด้วยเชือกหรือหนีบไว้ด้วยที่หนีบกระดาษ จากนั้นเมื่อกรีดขอบกระดาษด้านขวาจะเห็นเป็นภาพแอนิเมชั่นเคลื่อนไหวตามความเร็วของการกรีดกระดาษ

ภาพตัวอย่างสมุดพลิกหรือการดีดหน้าหนังสือ (Flip book)

 

งานที่ 3

Flip Book

วัสดุอุปกรณ์

1. สมุดฉีด 50 แผ่น (มากกว่าก็ได้)
2. ดินสอ
3. ยางลบ
4. สีไม้
5. ปากกาตัดเส้น (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

ขั้นตอนการทำ

1. คิด วางแผน เรื่องที่เราจะทำ

2. วาดลงในสมุดฉีด

3. ลงสีให้สวยงาม

4.ตัดเส้นเพื่อความคมชัดของภาพ เป็นอันเรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Zoetrope

Zoetrope

   William George ประดิษฐ์เครื่องโซโทรป (Zoetrop)ซึ่งอาศัยหลักการเดียวกับฟีนากิสสโตสโคป (Phenakistoscope)แต่ไม่จำเป็นต้องใช้กระจกเงาในการมองอีกต่อไป (ธรรมปพนลีอำนวยโชค, 2550, 21) สามารถทดลองทำได้โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นทรงกระบอกและเจาะช่องมองไว้ 12 ช่อง จากนั้นวาดรูปต่อเนื่องกัน 12 รูปด้านในให้แตกต่างกันเล็กน้อย จากนั้นดึงรูปและทรงกระบอกนั้นบนไม้หรือวัสดุที่มีปลายแหลมให้อยู่ตรงจุดศูนย์กลางแล้วหมุนทรงกระบอก เมื่อมองผ่านช่องที่เจาะไว้ก็จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว

 
ตัวอย่างของโซโทรป (Zoetrope)

ที่มา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

งานที่2 

Zoetrope

 

วัสดุอุปกรณ์


1.กระดาษ 80 ปอนด์ หรือ ต่ำกว่า 80 ปอนด์ก็ได้
2.กระดาษแข็ง
3.ดินสอ
4.ปากกาเมจิกสีดำ
5.วงเวียน
6.กาว
7.เทปกาว
8.กรรไกร
9.คัทเตอร์
10.ไม้บรรทัด
11.จุกและไม้เสียบลูกโป่ง

ขั้นตอนการทำ

1.กำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางของฐานรูปวงกลม 6 นิ้ว (หรือขนาดใดก็ได้แล้วแต่กำหนด) และหาเส้นรอบวงกลมเพื่อจะทำ Template

2.เมื่อได้ขนาดเส้นรอบวงกลมจึงวาด template ตามขนาดที่วัดไว้ โดยกำหนดจำนวนภาพที่เราการคือ 12 เฟรม แบ่งให้เท่าๆกัน และเว้นช่องไฟเพื่อเว้นให้เราสามารถมองเห็นภาพเคลื่อนไหวได้

3.วาดภาพที่เราจะทำเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยแต่ละเฟรมจะไม่ซ้ำกันมีลักษณะค่อยๆขยับที่ละส่วน

4.ตัดแบบที่่เราวาดไว้มาติดกาวเพื่อที่จะให้มันต่อกัน

5.ระบายสีในภาพให้เรียบร้อย(สามารถทำขั้นตอนที่4ก่อนก็ได้)

6.จากนั้นนำมาติดกับกระดาษแข็งที่เตรียมไว้ แล้วตัดส่วนเกินให้เรียบร้อย(ช่องไฟ)

7.เป็นขั้นตอนในการทำฐานของ Zoetrope นำวงเวียนมากางในรัศมี 3 นิ้ว ครึ่งนึงจากที่กำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางไว้ จากนั้นก็ตัดฐานออก เพื่อความแข็งแรงควรใช้กระดาษที่แข็งที่หนา

8.จากนั้นก็นำแบบและฐานมาติดกันให้เรีบยร้อย

9.เมื่อเสร็จเราก็จะนำจุกไม้ลูกโป่งมาติดกาวแล้วนำไปติดกับส่วนฐานด้านล่างของ Zoetrope เสียบก้านไม้ลูกโป่งให้เรียบร้อย

10.เพื่อความเรียบร้อยนำกระดาษแข็งขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว มาปิดให้ส่วนที่ไม่เรียบร้อยตรงฐานโดยให้เหลื่อมลงมาเล็กน้อยก็เป็นอันเสร็จ



Thaumatrope

 Thaumatrope 

  Paul Roget ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องมือเชามาโทรป ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1824 ซึ่งให้ความคิดเกี่ยวกับภาพติดตาด้วยการลวงตา (ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล , 2547, 5) ด้วยการนำเอาแผ่นกระดาษแข็งรูปวงกลม 2 แผ่นมาประกบกัน โดยเขียนภาพที่มีลักษณะต่างกันแต่ยังสื่อถึงกันอยู่ เช่น ภาพนกและภาพกรงเปล่าทากาวด้านหลังของภาพทั้งสองแล้วใส่เชือกหรือผูกหนังยางตรงจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสอง กดให้แน่นเป็นแผ่นเดียวกัน จากนั้นใช้นิ้วจับปลายเชือกทั้งสองด้าน แกว่งไปมาแล้วดึงเชือกให้
หย่อนทั้งสองด้าน วงกลมจะหมุนไปและภาพเขียนจะรวมกันเป็นภาพเดียว วิธีนี้ใช้ได้กับแผ่นกระดาษประกบบนไม้เหมือนพัดขนาดเล็ก เมื่อปั่นปลายไม้ให้กระดาษหมุนก็จะเห็นภาพทั้งสองรวมกัน
เป็นภาพเดียวเช่นกัน

ภาพตัวอย่างของเชามาโทรป (Thaumatrope)

 ที่มา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


งานที่ 1 Thaumatrope


วัสดุอุปกรณ์














1.กระดาษ100 ปอนด์
2.กระดาษแข็งหรือฟิวเจอบอร์ด
3.กาว
4.กรรไกร
5.ดินสอ
6.เมจิกสีดำ
7.สี
8.เชือก

ขั้นตอนการทำ
1.นำวงเวียนวงลงกระดาษ 2 วง ตามขนาดที่ต้องการ














2.วาดภาพที่เราคิดไว้ว่าจะให้เคลื่อนไหวอย่างไรทั้งสองด้าน ลงบนภาพวงกลมที่วาดไว้














3.นำเมจิกมาตัดเส้น














4.ลงสีให้สวยงาม














5. นำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่ากับวงกลมที่วาด ตัดวงกลมที่วาดไว้ออกมาทั้งสองวงประกบกระดาษแข็งอย่างละข้าม














6.เจาะรูด้านข้างทั้ง 2 ด้าน นำเชือกมากร้อยและมัดปมตรงปลายเป็นอันเสร็จ