วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

Intro My Name...

 ฝึกการใช้ Effect ต่างๆ เบื้องต้น ของโปรแกรม After Effect โดยการทำ Intro การแนะนำตัว 10 วินาที

 Introduce Intro By Sasithorn


Squash and Stretch

Squash and Stretch

จะคล้าย exaggeration ตัวอย่างที่นิยมใช้อธิบายเรื่องนี้ก็ลูกบอลกระเด้ง เมื่อลูกบอลกระทบพื้น ลูกบอลจะถูกบี้ลง (squash) เพราะแรงอัด และเมื่อลูกบอลเด้งจากพื้นลอยขึ้นไปในอากาศ ลูกบอลจะถูกยืด(stretch) เข้าใจว่ามีแรงเฉื่อยมาฉุดรั้งไว้ ทำให้ยืดนะ หรืออีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสุด คือ พวกหนัง action ฉากต่อสู้ต่าง หรือเวลานักมวยปล่อยหมัดชกหน้าคู่ต่อสู้ จะเห็นว่าหมัดเวลาพุ่งแรง เหมือนแขนจะยาวขึ้น หรือหมัดโดนยืด (เพราะแรงเหวี่ยง.. คล้ายเวลาสบัดแผ่นยาง มันก็จะยืดออก ณ จังหวะที่มันกางเต็มที่) แล้วเมื่อหมัดกระทบหน้า หมัดจะถูกบี้ (รวมถึงหน้าของคนถูกชกด้วย)เพราะโดนแรงอัดเข้าไป

ที่มา : http://tho.idesign.ac.th/2014/02/12-principles-of-animation.html


Squash and Stretch By Sasithorn
 
*เนื่องจากวันเสาร์ไม่ได้มาเรียน จึงดูวิธีการทำจากใน Youtube ซึ่งมีแต่คริปของฝรั่ง พยายามทำให้มันบี้และยืดแล้ว แต่ไม่สำเร็จ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ TT (ร้องไห้หนักมาก)

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Flip Book

สมุดพลิกหรือการดีดหน้าหนังสือ (Flip book)
 

   สมุดพลิกหรือการดีดหน้าหนังสือจะลวงตาทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวได้ โดยใช้กระดาษแข็งที่มีความหนาพอสมควรขนาดเท่าๆ กันสัก 24 หรือ 36 ชิ้น เขียนภาพที่ดัดแปลงให้แตกต่างกันเล็กน้อยลงในจุดหรือตำแหน่งเดียวกันในแต่ละหน้า เรียงรวมกันเป็นเล่มโดยด้านซ้ายเย็บด้วยเชือกหรือหนีบไว้ด้วยที่หนีบกระดาษ จากนั้นเมื่อกรีดขอบกระดาษด้านขวาจะเห็นเป็นภาพแอนิเมชั่นเคลื่อนไหวตามความเร็วของการกรีดกระดาษ

ภาพตัวอย่างสมุดพลิกหรือการดีดหน้าหนังสือ (Flip book)

 

งานที่ 3

Flip Book

วัสดุอุปกรณ์

1. สมุดฉีด 50 แผ่น (มากกว่าก็ได้)
2. ดินสอ
3. ยางลบ
4. สีไม้
5. ปากกาตัดเส้น (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

ขั้นตอนการทำ

1. คิด วางแผน เรื่องที่เราจะทำ

2. วาดลงในสมุดฉีด

3. ลงสีให้สวยงาม

4.ตัดเส้นเพื่อความคมชัดของภาพ เป็นอันเรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Zoetrope

Zoetrope

   William George ประดิษฐ์เครื่องโซโทรป (Zoetrop)ซึ่งอาศัยหลักการเดียวกับฟีนากิสสโตสโคป (Phenakistoscope)แต่ไม่จำเป็นต้องใช้กระจกเงาในการมองอีกต่อไป (ธรรมปพนลีอำนวยโชค, 2550, 21) สามารถทดลองทำได้โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นทรงกระบอกและเจาะช่องมองไว้ 12 ช่อง จากนั้นวาดรูปต่อเนื่องกัน 12 รูปด้านในให้แตกต่างกันเล็กน้อย จากนั้นดึงรูปและทรงกระบอกนั้นบนไม้หรือวัสดุที่มีปลายแหลมให้อยู่ตรงจุดศูนย์กลางแล้วหมุนทรงกระบอก เมื่อมองผ่านช่องที่เจาะไว้ก็จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว

 
ตัวอย่างของโซโทรป (Zoetrope)

ที่มา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

งานที่2 

Zoetrope

 

วัสดุอุปกรณ์


1.กระดาษ 80 ปอนด์ หรือ ต่ำกว่า 80 ปอนด์ก็ได้
2.กระดาษแข็ง
3.ดินสอ
4.ปากกาเมจิกสีดำ
5.วงเวียน
6.กาว
7.เทปกาว
8.กรรไกร
9.คัทเตอร์
10.ไม้บรรทัด
11.จุกและไม้เสียบลูกโป่ง

ขั้นตอนการทำ

1.กำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางของฐานรูปวงกลม 6 นิ้ว (หรือขนาดใดก็ได้แล้วแต่กำหนด) และหาเส้นรอบวงกลมเพื่อจะทำ Template

2.เมื่อได้ขนาดเส้นรอบวงกลมจึงวาด template ตามขนาดที่วัดไว้ โดยกำหนดจำนวนภาพที่เราการคือ 12 เฟรม แบ่งให้เท่าๆกัน และเว้นช่องไฟเพื่อเว้นให้เราสามารถมองเห็นภาพเคลื่อนไหวได้

3.วาดภาพที่เราจะทำเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยแต่ละเฟรมจะไม่ซ้ำกันมีลักษณะค่อยๆขยับที่ละส่วน

4.ตัดแบบที่่เราวาดไว้มาติดกาวเพื่อที่จะให้มันต่อกัน

5.ระบายสีในภาพให้เรียบร้อย(สามารถทำขั้นตอนที่4ก่อนก็ได้)

6.จากนั้นนำมาติดกับกระดาษแข็งที่เตรียมไว้ แล้วตัดส่วนเกินให้เรียบร้อย(ช่องไฟ)

7.เป็นขั้นตอนในการทำฐานของ Zoetrope นำวงเวียนมากางในรัศมี 3 นิ้ว ครึ่งนึงจากที่กำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางไว้ จากนั้นก็ตัดฐานออก เพื่อความแข็งแรงควรใช้กระดาษที่แข็งที่หนา

8.จากนั้นก็นำแบบและฐานมาติดกันให้เรีบยร้อย

9.เมื่อเสร็จเราก็จะนำจุกไม้ลูกโป่งมาติดกาวแล้วนำไปติดกับส่วนฐานด้านล่างของ Zoetrope เสียบก้านไม้ลูกโป่งให้เรียบร้อย

10.เพื่อความเรียบร้อยนำกระดาษแข็งขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว มาปิดให้ส่วนที่ไม่เรียบร้อยตรงฐานโดยให้เหลื่อมลงมาเล็กน้อยก็เป็นอันเสร็จ



Thaumatrope

 Thaumatrope 

  Paul Roget ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องมือเชามาโทรป ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1824 ซึ่งให้ความคิดเกี่ยวกับภาพติดตาด้วยการลวงตา (ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล , 2547, 5) ด้วยการนำเอาแผ่นกระดาษแข็งรูปวงกลม 2 แผ่นมาประกบกัน โดยเขียนภาพที่มีลักษณะต่างกันแต่ยังสื่อถึงกันอยู่ เช่น ภาพนกและภาพกรงเปล่าทากาวด้านหลังของภาพทั้งสองแล้วใส่เชือกหรือผูกหนังยางตรงจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสอง กดให้แน่นเป็นแผ่นเดียวกัน จากนั้นใช้นิ้วจับปลายเชือกทั้งสองด้าน แกว่งไปมาแล้วดึงเชือกให้
หย่อนทั้งสองด้าน วงกลมจะหมุนไปและภาพเขียนจะรวมกันเป็นภาพเดียว วิธีนี้ใช้ได้กับแผ่นกระดาษประกบบนไม้เหมือนพัดขนาดเล็ก เมื่อปั่นปลายไม้ให้กระดาษหมุนก็จะเห็นภาพทั้งสองรวมกัน
เป็นภาพเดียวเช่นกัน

ภาพตัวอย่างของเชามาโทรป (Thaumatrope)

 ที่มา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


งานที่ 1 Thaumatrope


วัสดุอุปกรณ์














1.กระดาษ100 ปอนด์
2.กระดาษแข็งหรือฟิวเจอบอร์ด
3.กาว
4.กรรไกร
5.ดินสอ
6.เมจิกสีดำ
7.สี
8.เชือก

ขั้นตอนการทำ
1.นำวงเวียนวงลงกระดาษ 2 วง ตามขนาดที่ต้องการ














2.วาดภาพที่เราคิดไว้ว่าจะให้เคลื่อนไหวอย่างไรทั้งสองด้าน ลงบนภาพวงกลมที่วาดไว้














3.นำเมจิกมาตัดเส้น














4.ลงสีให้สวยงาม














5. นำกระดาษแข็งที่เตรียมไว้ตัดเป็นวงกลมขนาดเท่ากับวงกลมที่วาด ตัดวงกลมที่วาดไว้ออกมาทั้งสองวงประกบกระดาษแข็งอย่างละข้าม














6.เจาะรูด้านข้างทั้ง 2 ด้าน นำเชือกมากร้อยและมัดปมตรงปลายเป็นอันเสร็จ